ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของด.ช.ธิปไตย เว๊าะบ๊ะห์ ครับ ^^

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

 “สตูล” จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม และยังตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลอันดามันมีเกาะแก่งที่สวยงาม อุดมด้วยธรรมชาติป่าเขาที่สมบูรณ์ ดูเหมือนว่าช่วงนี้สตูลจะเป็นจังหวัดที่น่าสนใจ เพราะทั้ง เฉียด กับการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ และ  เฉี่ยว กับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ที่แม้บางแหล่งท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็เป็นความเสียหายเพียงเล็กน้อย
       
       สตูล มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์” ชื่อเมืองมาจากคำภาษามาลายูว่า ‘สโตย’แปลว่ากระท้อน ต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบังสการา” แปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา
       
       หลายสิ่งหลายอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ของเมืองนี้จึงล้วนแต่น่าสนใจ ซึ่งถ้าอยากรู้เรื่องราวยาวนานของจังหวัดเล็กๆ แห่งนี้ ต้องไปที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล”หรือ คฤหาสน์กูเด็น มีอายุกว่าร้อยปี ซึ่งพระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (กูเด็น บินกูแม๊ะ) อดีตเจ้าเมืองสตูล ได้สร้างขึ้น เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโลเนียล 


วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

เกาะหลีเป๊ะ

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เกาะหลีเป๊ะกันนะครับ !!!


เกาะหลีเป๊ะ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวน้ำประมาณ 500 คน ซึ่งกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เกาะหลีเป๊ะอยู่บนเกาะลันตาในจังหวัดกระบี่ พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการประมง และการเพาะปลูกผัก ปลูกข้าวอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ
เกาะหลีเป๊ะ อยู่นอกเขตอำนาจของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นจากกฎหมายของอุทยานแห่งชาติ เกาะหลีเป๊ะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ ปัญหาขยะและการอนุรักษ์สัตว์มากขึ้นตามไปด้วย หนึ่งในเหตุผลที่จำนวนของนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวที่นี่เพิ่มมากขึ้นก็คือ รายการ "Tarutao Survivor" ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอการใช้ชีวิตบนหมู่เกาะตะรุเตา แบบเรียลลิตี้โชว์
เกาะหลีเป๊ะ ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายอุทยาน ดังนั้นจึงมีการจำกัดสถานที่สำคัญไว้ส่วนหนึ่งบนเกาะอาดัง บังกะโลหลายแห่งเริ่มก่อสร้างขึ้นในหมู่บ้านหลักๆ ตามแนวชายฝั่งตะวันออกและหาดพัทยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะหลีเป๊ะ นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารและร้านค้าอีก 2 - 3 แห่งอีกด้วย คุณ สามารถเดินไป-มาระหว่างหมู่บ้านกับหาดพัทยา โดยใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาทีเท่านั้น มีแนวปะการังอยู่ด้านใต้ของเกาะเล็กๆ และอ่าวเล็กๆ น้อยๆ มากมาย ชาวน้ำจะคอยให้บริการเช่าเรือเพื่อท่องเที่ยวไปยังเกาะรอบๆ ซึ่งเต็มไปด้วยแนวปะการังมากมาย

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ถ้ำเลสเตโกดอน

    วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ ถ้ำเลสเตโกดอนกันนะครับ !!!

จุดนี้สะดุดตาเคยนำเสนอให้รู้จักกันไปแล้วบ้าง ต้องขอบอกว่า ถ้ำเลแห่งนี้เป็นถ้ำที่มีความยาวที่สุดในเมืองไทยในบรรดาถ้ำเลด้วยกัน หรือถ้ำที่น้ำทะเลท่วมถึง ธรรมชาติได้สร้างถ้ำนี้มาอย่างมหัศจรรย์ นอกจากความสวยงามของหินงอกหินย้อย แล้วพิกัดที่ตั้งของถ้ำแห่งนี้ ยังกลายเป็นสถานที่ค้นพบซากฟอสซิลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทยด้วย  ด้วยการค้นพบซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์แล้วมากมายนับร้อยๆชิ้น และเชื่อว่ายังมีอีกมาก สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบรวมทั้งช้างสเตโกดอนที่มีขนาดใหญ่กว่าแมมมอสเสียอีก และยังคนพบสัตว์อีกหลายชนิดที่สูญพันธ์ุไปแล้ว บางครั้งการเดินทางเข้าไปเที่ยวถ้ำ เราอาจจะได้ค้นพบซากฟอสซิลด้วยตัวเองก็เป็นได้ เพราะทุกวันนี้ยังมีการค้นพบอยู่เรื่อย ความยาวของถ้ำเลสเตโกดอนนั้นยาวทั้งสิ้น 4 กิโลเมตร แต่เป็น 4กิโลเมตรแห่งความตื่นตาตื่นใจตลอดทาง เราจะต้องพายเรือยาง หรือเรือคยัคขนาดเล็กเข้าไปในถ้ำ ต้องมีไฟส่องส่ว่าง คาดว่าถ้ำเลสเตโกดอนจะเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวเขาชมอย่างเป็นทางการได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2556นี้ ช่วงนี้ถ้าใครสนใจ ติดต่อสอบถามไปได้ที่ อบต.ทุ่งหว้า โทร 074-789317 หรือ นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ (นายกอบต.ทุ่งหว้า) โทร. 091 0345989 

หาดหอขาว

                                                    วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ หาดหอขาวกันนะครับ !!!

     เกาะหอขาวเป็นเกาะที่เกิดจากซากเปลือกหอยสีขาว ทั่วทั้งเกาะไม่มีหาดทราย แต่พื้นที่เราเห็นเหมือนหาดทรายนั้น เป็นซากเปลือกหอยทั้งสิ้น มีนักสำรวจลงไปดูใต้นำก็ยังพบว่าเกาะแห่งนี้ ลึกลงไปก็ยังคงเป็นเปลือกหอย เหมือนกับว่ามันมากองรวมกันกลายเป็นภูเขาขนาดย่อมโพล่พ้นน้ำกลายเป็นเกาะหอขาวขึ้นมา  ส่วนที่เรียกกันว่าเกาะหอขาว มาจากหอยขาวนั้นเองครับ เปลือกหอยที่พบบนเกาะนี้มีมากกว่า 20 ชนิด และมีพื้นที่เกาะประมาณ 20ไร่ ทั่วทั้งเกาะปกคลุมไปด้วยเปลือกหอย เหมือนกับว่ามันถูกสร้างขึ้นจากเปลือกหอย เกาะมีลักษณะแนวยาวโค้ง พบพืช จำพวกต้นไม้พุ่มเตี้ย และผักบุ้งทะเลขึ้นอยู่บ้าง แต่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ บนเกาะแห่งนี้ 

เกาะราวี

                                                    วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เกาะราวีกันนะครับ !!!

กาะราวี ตั้งอยู่ในเขตอุทยายแห่งชาติตะรุเตา มีหาดทรายขาวน้ำใส เงียบสงบ เหมาะแก่การกางเต๊นต์พักผ่อน เล่นน้ำ ดำน้ำตื้น และดำน้ำลึกชมประการังพร้อมสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่น่าชม เกาะราวีตั้งอยู่ห่างจากตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
โทรศัพท์ : 074-783-485 (อุทยานแห่งชาติตะรุเตา)
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้เรือในการเดินทางท่องเที่ยวตามเกาะ

เกาะอาดัง

                                                  วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เกาะอาดังกันนะครับ !!!

เกาะอาดัง คำว่า “อาดัง” มาจากคำเดิมในภาษามลายูว่า “อุดัง” มีความหมายว่า “กุ้ง” เพราะบริเวณนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งทะเลกาะอาดังเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ ต.ต.5 (แหลมสน-เกาะอาดัง) เกาะอาดัง มีเนื้อที่เกาะประมาณ30 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายละเอียดสวยงาม
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
โทรศัพท์ : 074-783-485 (อุทยานแห่งชาติตะรุเตา)
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้เรือในการเดินทางท่องเที่ยวตามเกาะ

เกาะหินซ้อน

                                                 วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เกาะหินซ้อนกันนะครับ !!!

กาะหินซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะดง ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะหลีเป๊ะ ประมาณ 15 กิโลเมตร เกาะหินซ้อนมีความโดดเด่นตรงที่ลักษณะของหินสี่เหลี่ยมสองก้อนที่ตั้งซ้อนกันกลางทะเล ไม่ได้มีชายหาดรอบเกาะ เกาะหินซ้อนดูแล้วเหมือนกับศิลปะกลางทะเลไทย ความน่าแปลกอีกอย่างคือก้อนหินสองก้อนนี้ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันที่ตั้งซ้อนกันกลางทะเล ไม่ได้มีชายหาดรอบเกาะ
แต่ก็มันคงต่อกันมาก ขนาดว่าก่อนหน้านี้เคยมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งบริเวณนี้ แต่หินสองก้อนนี้ก็ไม่ยอมพลากจากกัน
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่หน้าเกาะดง และเกาะผึ้ง ห่างจากเกาะอาดังประมาณ 15 กิโลเมตร
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้เรือในการเดินทางท่องเที่ยวตามเกาะ.

เกาะไข่

                                                     วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เกาะไข่กันนะครับ !!!

ข้อมูล: เกาะไข่ อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 15 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากเกาะตะรุเตาประมาณ40 นาที สิ่งที่มีชื่อเสียงบนเกาะไข่ ได้แก่ ซุ้มประตูหินธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ทะเลรอบ ๆ เกาะไข่มีแนวปะการังอยู่โดยทั่วไป ทุกปีจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เป็นจำนวนมาก ทางด้านตะวันตกของเกาะมีหาดทรายสีขาวนวล และละเอียด น้ำทะเลใสเห็นผืนทรายใต้น้ำได้ชัดเจน
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
โทรศัพท์ : 074-783-485 
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน



เกาะหินงาม

                                      วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เกาะหินงามกันนะครับ !!!


เกาะขนาดเล็กทางทิศใต้ของเกาะอาดัง ทั้งเกาะเต็มไปด้วยหินสีดำกลมเกลี้ยง มันวาว ยามโดน คลื่นซัดทำให้ ก้อนหินเป็นมันวาวยิ่งขึ้น กลางเกาะเป็นป่าไม้สีเขียวอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่เกาะอื่นๆเด่นเรื่องหาดทรายขาวสะอาด แต่เกาะหินงามไร้ทรายแห่งนี้กลับโดดเด่นกว่าเกาะใดๆในสตูล เล่ากันว่าหินทุกก้อนมีคำสาปของเจ้าพ่อตะรุเตาหากใครนำติดตัวไปจะเกิดหายนะ แต่หากไปชมแล้วเรียงก้อนหินได้ 12 ก้อน แล้วอธิษฐานขอพรก็จะไ้ด้สมปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง.... 
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
โทรศัพท์ : 074-783-485 (อุทยานแห่งชาติตะรุเตา) 
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้เรือหางยาวอยู่ห่างจากเกาะอาดังประมาณ 2.5 กิโลเมตร

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล (คฤหาสน์กูเด็น)   ตั้งอยู่ถนนสตูลธานีซอย 5 ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล สร้างเมื่อ พ.ศ.2441 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2459 โดย พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสน์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม เคยใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล จนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปีพ.ศ. 2484 อาคารหลังนี้ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล และเป็นสถานที่สำคัญทางราชการ ต่อมาปี พ.ศ. 2540-2543 กรมศิลปากรได้ปรับปรุงคฤหาสถ์กูเด็น  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น เป็นตึกแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย  บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองสตูล วิถีชีวิตของชาวสตูลในด้านต่างๆ เช่น ชีวิตชาวเลเกาะหลีเป๊ะ การปั้นหม้อ  ห้องบ้านเจ้าเมืองสตูล ห้องวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิม ให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
      พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00–16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ 30 บาท  ชาวไทย 10 บาท โทร. 0 7472 3140